วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรคหอบหืด


โรคหอบหืด
อาการ
หอบหืดเกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของช่องทางเดินหายใจส่วนหลอดลม ทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง ปัจจัยที่ทำให้เกิดการตีบตันของการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ หลอดลมแท้จริงแล้วเป็นผลจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม การอักเสบส่วนใหญ่จะเป็นการอักเสบเรื้อรัง เกิดจากภาวะที่มีการตอบสนองรุนแรง
สาเหตุ
คือ การหายใจเอาสารที่แพ้เข้าไปในหลอดลมภาวะติดเชื้อ โพรงจมูกอักเสบ กลิ่นน้ำหอม ยาฆ่าแมลง กลิ่นอับ กลิ่นท่อไอเสีย กลิ่นบุหรี่ ภาวะอากาศเปลี่ยน การออกกำลังกาย โรคทางเดินอาหารบางโรค ภาวะแพ้ยา สารสี สารเคมีต่างๆ และภาวะเครียด ในเด็กที่เป็นโรคหอบหืดส่วนใหญ่สองในสาม จะมีภาวะภูมิแพ้ด้วย แต่ในผู้ใหญ่ต่างกันที่ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะภูมิแพ้ ความเข้าใจผิดคือ ความเข้าใจที่ว่าโรคหอบหืดเป็นผลจากภาวะแพ้เสมอไป โรคนี้เป็นกันมาก ตาม
สถิติแล้วประมาณ 10-13 % ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ในเด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
การวินิจฉัยโรคหอบหืด
ในเด็กทั่วไปแล้วจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กจำนวนไม่น้อยมีอาการอื่นร่วมด้วย เด็กบางคนไม่มีอาการหอบเลยก็ได้ ส่วนใหญ่ประวัติการเจ็บป่วยของเด็กจะไม่ค่อยสมบูรณ์ เพราะข้อมูลได้มาจากแม่เด็ก พี่เลี้ยง ครูที่โรงเรียน หรือตัวเด็กเอง  อาการสำคัญ คือ ไอตอนเช้า กลางคืนตอนดึก ไอเวลาวิ่งเล่น หรือหลังวิ่งเล่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ร่วมด้วยในเด็กเล็กที่หอบอาจมีสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคหอบหืด เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อในปอด สารแปลกปลอม ถั่ว ข้าวโพด คั่วติดในหลอดลม หรือโรคทางเดินอาหารบางชนิด การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้โรคหอบหืดกำเริบ ส่วนใหญ่ของเชื้อจะเป็นไวรัสที่ติดมาจากโรงเรียน หรือที่ชุมชน เด็กจำนวนมากแพ้สารต่างๆ เช่น ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ และอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบให้แน่นอน
การรักษา
โรคหอบหืดจะต่างกันในคนไข้แต่ละคนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค อายุคนไข้ และภาวะที่เกิดร่วมกับโรคหอบหืด เช่น ภาวะภูมิแพ้ หรือโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง
                โดยทั่วๆ ไป แนวทางรักษาที่ยอมรับโดยผู้เชี่ยวชาญมีอยู่ 4 ข้อดังนี้
แนะนำให้ใช้การตรวจสอบสมรรถภาพของปอด เพื่อ                บ่งชี้ความรุนแรงของโรค และเพื่อติดตามวัดผลการรักษา
การใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ
หรือป้องกันการอักเสบของเยื่อบุหลอดลมร่วมกับการใช้ยาเพื่อคลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลมที่หดตัว
การควบคุมภาวะแวดล้อมต่างๆ                
โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีภาวะแพ้ร่วมด้วย รวมถึงการรักษา         เฉพาะเจาะจงในภาวะภูมิแพ้
ต้องให้ความรู้คนไข้และครอบครัวเกี่ยวกับโรคหอบหืด
และการปฏิบัติตน เช่น เลิกบุหรี่วิธีการออกกำลังกาย และวิธีใช้ยาที่ถูกต้อง การรักษาอย่างต่อเนื่องสำคัญที่สุดในโรคหอบ      หืดคนไข้ส่วนใหญ่ หรือแพทย์ส่วนใหญ่จะมองข้ามจุดสำคัญนี้ ทำให้ผลการรักษาไม่เป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย คนไข้ก็ว่าไม่หายซักที หมอก็ว่าคนไข้ไม่รู้เรื่องไม่ทำตามคำสั่ง


ผลการรักษาที่ควรเกิดขึ้นมีดังนี้

สมรรถภาพปอดดีขึ้นคนไข้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ หรือเกือบปกติ รวมทั้งการออกกำลังกาย อาการเรื้อรังที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับคนไข้สิ้นสลายไป อาการ เช่น ไอ หายใจขัด แน่นหน้าอก ป้องกันการกำเริบของโรคได้ผลข้างเคียงจากยาควรจะไม่มี หรือมีน้อยที่สุด
ความเข้าใจที่สำคัญมาก    
คือ การอักเสบของเยื่อบุหลอดลมในโรคหอบหืดนี้เป็นการอักเสบอย่างเรื้อรัง ต่อเนื่องที่กำเริบได้เป็นระยะแม้เวลาที่คนไข้รู้สึกไม่ดี ไม่มีอาการไอ หรือหอบ  ภาวะการอักเสบนี้ยังคงอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันจะพบได้ทั้งยาฉีด ยาน้ำ และยาเม็ด ทั้งรูปแบบธรรมดา และออกฤทธิ์เนิ่นนาน เพื่อเพิ่มความสะดวกในการรับประทานผลข้างเคียงพบได้น้อย มีความปลอดภัยสูง


เอกสารอ้างอิง: โรงพยาบาลเซ็นทรัล ปาร์ค
                                4 / 42 ม.1 ถ. บางนา-ตราด-กม. 16 ต.บางโฉลง
                                อ.บางพลี  จ. สมุทรปราการ 10540
                        TEL . 02-3127261 -69
-->

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผักสดปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย Fresh vegetables, non-toxic, safe life.

-->
ผักสดปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย Fresh vegetables, non-toxic, safe life.
ผักสด และผลไม้สดเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของคนเรา เป็นอาหารที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต  ช่วยรักษาสมดุลย์ของร่างกาย  ซึ่งจะทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบการขับถ่ายดีขึ้น  อย่างไรก็ตามผักสดและผลไม้ก็อาจก่อให้เกิดโทษได้  ถ้าหากผักและผลไม้สดนั้นมีการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ และสารเคมีอันตราย  แม้ในปัจจุบันจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีลง  หรือส่งเสริมให้มีการผลิตผักสด  ผลไม้ปลอดสารพิษก็ตาม  ก็ไม่ทำให้มั่นใจได้  เนื่องจากยังมีการนำสารเคมีอื่นๆ มาแช่ให้ผักสด ขาว กรอบ น่ารับประทาน
ดังนั้น  เพื่อความปลอดภัยเราควรรู้ถึงอันตราย  วิธีหลีกเลี่ยง  และการลดอันตรายดังนี้
1. อันตรายจากเชื้อโรค และพยาธิ
เนื่องจากขบวนการปลูก บางแห่งอาจใช้อุจจาระของคน  หรือสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ย  ซึ่งอาจทำให้มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ ตัวอ่อนของพยาธิ เชื้อโรคระบบทางเดินอาหารชนิดต่างๆ โดยทั่วไปผักที่มักพบไข่พยาธิ  และตัวอ่อนของพยาธิ  ได้แก่ ผักที่ใบไม่เรียบ และกลีบใบซ้อนกันมากๆ เช่น ผักกาดขาว  กะหล่ำปลี  ต้นหอม  สะระแหน่ เป็นต้น  หากบริโภคผักสดและผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้างทำความสะอาด  จะทำให้โรคอุจจาระร่วงอย่างแรง  โรคบิด  ไทฟอยต์  และพยาธิต่างๆ
2. อันตรายจากสารพิษตกค้าง
ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีทางเกษตรเพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย  มีสารเคมีใช้กันมากมายหลายชนิด  แม้ว่าจะมีหน่วยงานควบคุมดูแลการนำไปใช้ก็ตาม  อาจจะมีผู้ใช้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจที่ดี  เช่นการใช้มากเกินปริมาณที่กำหนด ใช้ร่วมกันหลายชนิด การเก็บผลผลิตก่อนระยะเวลาที่สารเคมีจะสลายตัวหมด ทำให้สารเคมีตอค้างอยู่ในผักสด  โดยเฉพาะผักที่นิยมบริโภค  ผักคะน้า  กวางตุ้ง  กะหล่ำปลี  ถั่วฝักยาว  ที่มักพบสารเคมีตกค้างอยู่เสมอ รวมทั้งอาจมีสารพิษตกค้างอยู่ในดินและน้ำที่เป็นปหล่งปลูกอีกด้วย  ซึ่งสารเคมีที่รับบางชนิดจะทำลายระบบประสาทส่วนกลาง  ทำให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติ  มีอาการชาตามใบหน้า ลิ้น และริมฝีปาก ชัก  สารเคมีบางชนิดอาจทำลายเอนไซม์ของระบบประสาท  ถ้าได้รับปริมาณมากจะปวดศรีษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ สั่น กระตุก เป็นต้น
3. อันตรายจากการใช้สารเคมีเติมแต่งผักและผลไม้
          เกิดจากการใช้สารเคมีที่เป็นพิษ เพื่อทำให้ผักสด ผลไม้ดูสด หรือมีสีสันขาวสะอาดน่ารับประทาน  ทั้งนี้เนื่องจากพ่อค้า แม่ค้าในตลาดสด ได้มีการพยายามทำให้ผักสดคงสภาพสดอยู่เสมอ ไม่เที่ยวเน่าเสีย โดยมีการนำสารเคมีประเภทฟอร์มาลีน หรือบอแรกซ์ผสมน้ำมาราดรด หรือแช่ผักสด รวมทั้งการใช้สารไฮโดรซัลเฟท์หรือโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ มาแช่ผักสด ประเภทข้าวโพดอ่อน ขิงหั่นฝอย หน่อไม้สดหั่นฝอย เพื่อทำให้มีสีขาวน่ารับประทาน ซึ่งหากล้างไม่สะอาดเหลือตกค้างในผักสด  ทำให้ผู้บริโภคเกิดอันตรายได้ และการใช้สารเคมีฟอกขาวดังกล่าวกับอาหาร มีความผิดตามกฎหมาย
การหลีกเลี่ยง
การเลือกซื้อผักสดให้สะอาด  ปลอดภัยจากอันตรายของสารพิษที่ปนเปื้อนมากับผักสดที่วางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป  จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรู้จักวิธีเลือกซื้อผักสดที่สะอาด ปลอดภัยไว้บริโภคดังต่อไปนี้ คือ
1. เลือกซื้อผักสดที่สะอาด  ไม่มีคราบดิน หรือคราบขาวของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือเชื้อราตามใบ ซอกใบ หรือก้านผัก ไม่มีสีขาวหรือกลิ่นฉุนผิดปกติ
2. . เลือกซื้อผักสดที่มีรูพรุนเป็นรอยกัดแทะของหนอนแมลงอยู่บ้าง (ไม่ควรเลือกซื้อผักที่มีใบสวยงาม )เพราะหนอนกัดเจาะผักได้ แสดงว่ามีสารพิษกำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายมาก
3. เลือกซื้อผักสดอนามัยหรือผักกางมุ้ง ตามโครงการพิเศษของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  หรือแหล่งปลูกที่เชื่อถือได้อื่นๆ เช่น เลมอนกรีน เป็นต้น และสับเปลี่ยนแหล่งซื้ออยู่เสมอ
4. เลือกกินผักตามฤดูกาล เนื่องจากผักที่ปลูกได้ตามฤดูกาลจะมีโอกาสเจริญเติบโตได้ดีกว่านอกฤดูกาล ทำให้ลดการใช้สารเคมี และปุ๋ยลง
5. เลือกกินผักพื้นบ้าน เช่น ผักแว่น ผักหวาน ผักดิ้ว ผักกระโดน ใบย่านาง ใบเหลือง ใบยอ ผักกระถิน ยอดแค หรือผักที่สามารถปลูกได้เองง่ายๆ
6. ไม่กินผักชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ ควรกินให้หลากหลายชนิดสับเปลี่ยนกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการรับพิษสะสม และได้ประโยชน์ทางด้านโภชนาการ
การลดพิษภัย
การล้างผักสดลดพิษภัย เพื่ออนามัยครอบครัว ในการเลือกซื้อผักสด ผลไม้ หากไม่แน่ใจว่าผักสดที่จะซื้อมาบริโภคปลอดภัยจากสารเคมีหรือไม่

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การประกันสุขภาพ Health insurance

-->
การประกันสุขภาพ Health insurance ( กับโรคร้ายที่มากับ น้ำท่วม และหลังน้ำลด )
จากเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของคนไทยในช่วงที่ผ่านมา  คงไม่พ้นเรื่องน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ในหลายจังหวัดของประเทศ  หากสิ่งที่น่าวิตกกังวลจากเหตุการณ์น้ำท่วม  นอกจากความเสียหายเรื่องทรัพย์สินแล้ว อีกสิ่งหนึ่ง คือโรคภัยต่างๆ ที่มากับน้ำ  โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมขัง  รวมทั้งการบริโภคอาหารที่ค้างหรือไม่สะอาด
ในปี พ.ศ. 2555 นี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป  ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน   และก็มีบางพื้นที่เริ่มเกิดน้ำท่วมบ้างแล้ว จากการคาดการณ์ของนักวิชาการ ออกมาพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย จะยิ่งหนักขึ้นไปเรื่อยๆ ท่านเตรียมตัวรับมือกับโรคที่มากับ น้ำท่วม และหลังน้ำลดกันหรือยัง อาทิ
1. โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
                ติดต่อได้ทุกเพศทุกวัย แพร่กระจายในลมหายใจ เสมหะ น้ำลาย อาการมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ไอจาม อ่อนเพลีย  ป้องกันได้ด้วยใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ดื่มน้ำอุ่นมากๆ มีไข้สูงเกิน 7 วันควรพบแพทย์
                2.โรคปอดบวม
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือสำลักสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอด เช่น น้ำสกปรกจนทำให้เกิดการอักเสบ อาการไข้สูง ไอมาก หอบหายใจเร็ว เห็นชายโครงบุ๋ม ริมผีปากซีดหรือเขียวคล้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม หากมีอาการควรรีบพบแพทย์ทันที
                3.โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารค้างคืนหรือเน่าบูด แบ่งออกเป็นหลายโรค ได้แก่ โรคอุจาระร่วง อาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดและมีการอาเจียนร่วมด้วย อหิวาตกโรค จะถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมากๆ อาการรุนแรง
                4.โรคไข้เลือดออก
มียุงลายเป็นพาหะพบได้ทุกวัยในทุกพื้นที่ มีอาการไข้สูงตลอดทั้งวัน หน้าแดง เกิดจุดแดงๆ เล็กๆ ตามลำตัว ต่อมาไข้จะลดลง ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอาการรุนแรง มีความผิดปกติ เช่น ถ่ายดำ ไอปนเลือด เกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้
                5.โรคหัด
เป็นโรคไข้ออกผื่นที่พบในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัส มักพบในฤดูฝน หากมีการแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตได้ สำหรับการติดต่อผ่านทางการไอจาม เชื้อกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อาการหลังจากได้รับเชื้อ 8 – 12 วัน มีไข้ ตาแดง พบจุดขาวๆ เล็กๆ ในกระพุ้งแก้ม  ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย
                6.โรคไข้มาลาเรีย
ติดต่อโดยยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขามีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ อาการหลังรับเชื้อ 7 – 10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต  ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงยุงด้วยการทายาหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด
                7.โรคตาแดง
ติดต่อได้ง่ายในเด็กเล็กแต่เป็นโรคที่ไม่มีอันตรายรุนแรง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ อาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 – 2 วัน จะมีอาการระคายเคือง ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง ทั้งนี้ในหากดูแลถูกวิธีจะหายได้ใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดูแลอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น กระจกตาดำอักเสบ ทั้งนี้ป้องกันได้ด้วยล้างดวงตาให้สะอาดเมื่อถูกฝุ่นละออง หมั่นล้างมือบ่อยๆ ไม่ควรขยี้ตา
8.โรคน้ำกัดเท้าจากเชื้อราและแผลพุพองเป็นหนอง
ซึ่งเกิดจากการย่ำน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรคหรืออับชื้นจากเสื้อผ้า และเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดเป็นเวลานาน โดยจะมีอาการเท้าเปื่อย เป็นหนอง และเริ่มคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย จากนั้นผิวหนังจะพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนคือผิวหนังอักเสบ ป้องกันได้ด้วยการเช็ดเท้าให้แห้ง หากมีบาดแผลควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ
                9.โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส
เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีหนูเป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญ เชื้อออกมากับปัสสาวะสัตว์แล้วปนเปื้อนในน้ำท่วมขัง โดยโรคนี้จะติดต่อทางบาดแผล รอยขีดข่วน หรือไชเข้าตามเยื่อบุตา จมูก ปาก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ อาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 4 – 10 วัน จะมีไข้สูงทันที ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และศีรษะมาก บางรายมีอาการตาแดง เจ็บคอ เบื่ออาหาร ท้องเดินร่วมด้วย จำเป็นต้องรีบพบแพทย์ มิเช่นนั้นอาจถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามสามารถป้องกันได้โดยสมรองเท้าบู๊ทยางกันน้ำ ทำความสะอาดที่พักไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนู  ทั้งนี้การรักษาห้ามใช้ยาแอสไพริน และระวังไม่ให้ถูกยุงกัด
                โรคทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีใครอยากเป็น  แต่ในสถานการณ์จำยอมอย่างมหาอุทกภัยที่ผ่านมานั้น หากมีการประกันสุขภาพก็จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อย 
แหล่งที่มา วารสารสำหรับลูกค้า กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต